ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ในสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป สัญญาณอันตราย…ไม่ควรละเลย

เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

“สตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มีโอกาสเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ จึงควรได้รับการตรวจหาสาเหตุและนำชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกออกมาตรวจทุกราย ”


หลักการรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด (กรณีอายุ 35 ปีขึ้นไป)

  • ลักษณะเลือดประจำเดือนที่ปกติ มีดังนี้ ระยะห่างระหว่างรอบโดยเฉลี่ยประมาณ 28 +/-7 วัน ( 21-35 วัน), ปริมาณการใช้ผ้าอนามัยไม่เกิน 3-4 แผ่น/วัน, ระยะเวลาที่เป็นประจำเดือนไม่ควรเกิน 7 วัน กรณีที่ออกผิดปกติจากนี้ เช่น ถ้ามีภาวะเลือดออกผิดปกติโดยประจำเดือนออกมากเป็นลิ่มเลือด ออกเป็นก้อนเลือด ออกนานมากว่า 7 วัน ออกนอกรอบประจำเดือน หรือ มีอาการหน้ามืดวิงเวียน เหนื่อยเพลีย จากภาวะซีด หรือมีปวดหน่วงท้องน้อยร่วมด้วย ควรต้องหาสาเหตุทุกราย และควรรีบปรึกษาแพทย์
  • ในกลุ่มสตรี อายุ 35 - 45 ปี พบว่า เกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ร้อยละ 15 และเกิดขึ้นในสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน โดย โอกาสความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก จะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะสตรีที่มี โรคเมตาบอลิกซินโดรม ( กลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ กลุ่มความผิดปกติดังกล่าวได้แก่ อ้วนลงพุง(central obesity หรือ abdominal obesity) ) จะเพิ่มความเสี่ยงอย่างมาก
  • กลุ่มสตรี อายุ 45-55 ปี พบว่า 70% ของสตรีกลุ่มนี้ เคยมีประสบการณ์ มีเลือดประจำเดือนออกผิดปกติ ความเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจะเพิ่มเป็น 3 เท่า เมื่อเทียบกับสตรีที่อายุน้อยกว่า  โดยอุบัติการณ์ การเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกต่อปี อยู่ที่ 42 คน ใน กลุ่มสตรีที่มีเลือดออก 100,000 คน

สาเหตุของเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มี ดังต่อไปนี้

  • ติ่งเนื้อโพรงมดลูก
  • เนื้องอกโพรงมดลูก หรือ ที่กล้ามเนื้อมดลูก
  • เยื่อบุหนาตัวผิดปกติ
  • ฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น ไข่ไม่ตก
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่บางชนิด
  • ปากมดลูกอักเสบ หรือ ท่อนำไข่อักเสบ
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • เนื้องอกรังไข่บางชนิด
  • การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ
  • ภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ  เป็นต้น

การรักษา ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด (กรณีแยกภาวะการตั้งครรภ์ออกแล้ว)

  • กรณี อายุน้อยกว่า 35 ปี ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน อัลตราซาวด์มดลูกรังไข่ อยู่ในเกณฑ์ปกติ  สาเหตุ ส่วนมากเกิดจาก ฮอร์โมนไม่สมดุลกัน 90% เกิดจากภาวะไข่ไม่ตก อื่นๆ เกิดจากภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ โดย ควรมีการประเมินเบื่องต้น ดังนี้ การตรวจนับเม็ดเลือดสมบูรณ์ (CBC) การศึกษาการแข็งตัวของเลือดหากมีข้อบ่งชี้ การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน (ผ่านช่องท้อง หากไม่ได้มีเพศสัมพันธ์) การรักษาจะให้ยาปรับฮอร์โมน เพื่อให้เลือดหยุดและให้ฮอร์โมนเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ กรณีอื่นๆรักษาตามสาเหตุ
  • กลุ่มสตรี อายุ 35 - 45 ปี ขึ้นไป การวินิจฉัยและรักษา มีตั้งแต่ การสุ่มตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อนำเยื่อบุโพรงมดลูกไปตรวจโดยใช้เครื่องมือเพื่อ สุ่มตัด หรือ ขูด หรือ ใช้เครื่องดูด โดยแนะนำการสุ่มตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูกจำเป็นเมื่อ: ดัชนีมวลกาย >30  มีประวัติ PCOS ไม่ตอบสนองหลังการให้ยารักษา มีเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่อง >3 เดือน (เป็นการสุ่มตรวจเพื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจเพียงอย่างเดียว กรณีมีก้อนเนื้องอกโพรงมดลูก หรือติ่งเนื้อโพรงมดลูก จะนำจุดที่มีพยาธิสภาพออกไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นโพรงมดลูกได้โดยตรงเหมือนการส่องกล้องโพรงมดลูก) บางสถาบันใช้การส้องตรวจโพรงมดลูกแทน การขูดมดลูกแยกส่วน ซึ่งทำให้เห็นพยาธิสภาพทั้งหมด
  • กลุ่มสตรี อายุ 45-55 ปี ควรทำการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อตรวจความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ถ้าเยื่อบุหนามากว่า 4 มิลลิเมตรขึ้นไป แนะนำควรส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อทำการรักษาและนำชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อแยกภาวะมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ตาราง A . เปรียบเทียบ การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก เทียบกับ การขูดมดลูกแบบแยกส่วน

ชนิดการรักษา Hysteroscopy(การส่องกล้องโพรงมดลูก) Fractional Curettage (การขูดมดลูกแบบแยกส่วน)
Visualization การมองเห็นภาพ Direct (100%) Blind
Polyp Detection Rate การตรวจพบติ่งเนื้อ 98% 65%
Cancer Detection การตรวจพบมะเร็ง 95% (with biopsy) 78%
Complication Rate ภาวะแทรกซ้อน 0.5%-1% 2-3%
Uterine Perforation โอกาสมดลูกทะลุ 0.1% 0.8%
Need to repeat โอกาสผ่าตัดซ้ำ 5% 25%

จากตาราง A. สรุปได้ว่า การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกเพื่อรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด สามารถมองเห็นภาพได้ 100% สามารถตรวจพบติ่งเนื้อ ตรวจพบมะเร็ง ได้มากกว่าการขูดมดลูกแบบแยกส่วน โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน โอกาสมดลูกทะลุน้อยกว่า การขูดมดลูกแยกส่วน

ปัจจุบัน โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น ได้นำเอาเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูก มาวินิจฉัยและรักษา ภาวะเลือดออกผิดปกติโดยใช้ กล้องส่องโพรงมดลูก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก 3-7 มิลลิเมตร ซึ่งมีเครื่องดูดและตัดเนื้อเยื่อในตัว ไม่ใช้ความร้อนในการสัมผัสและตัดชิ้นเนื้อ จึงช่วยลดพังผืดจากการผ่าตัดในโพรงมดลูกได้ นอกจากนี้ยังทำให้เสียเลือดน้อย ช่วยวินิจฉัยและรักษาได้ไปในคราวเดียวกัน เห็นรอยโรคและรักษาได้ตรงจุด สามารถผ่าตัดนำเนื้องอก ติ่งเนื้อ และเยื่อบุโพรงมดลูก ออกได้ในการส่องครั้งเดียว ทำให้ เจ็บปวดน้อย ฟื้นตัวเร็ว กลับบ้านไว และได้ผลที่แม่นยำ โดยทำหัตถการภายใต้การดมยาสลบ ปลอดภัย โดยวิสัญญีแพทย์

กรณีรักษาโดยการส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อวินิจฉัยอย่างเดียว สามารถส่องตรวจตอนเช้า และกลับตอนบ่าย ในวันเดียวกันได้

กรณีรักษาโดยการส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อตัดติ่งเนื้อโพรงมดลูก ตัดชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก หรือตัดเนื้องอกโพรงมดลูก ควรนอน รพ. 1 คืน เพื่อสังเกตุอาการเลือดออกหลังผ่าตัด และนัดติดตาม 1 สัปดาห์เพื่อฟังผลชิ้นเนื้อและติดตามอาการ

ทุกการผ่าตัดมีความเสี่ยงต้องได้รับคำแนะนำ ข้อดี ข้อเสีย ความเสี่ยงจากการผ่าตัด อย่างละเอียดก่อนการผ่าตัด โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


Updated References (2020-2024)**

1. ACOG (2023). **Endometrial Cancer Screening Guidelines**. Practice Bulletin No. 215.
2. ESGE (2022). **Hysteroscopy Best Practices**. Journal of Minimally Invasive Gynecology 29(4).
3. Smith, R.A., et al. (2021). **Ultrasound AI for Endometrial Assessment**. NEJM 384(12):1123-1135.
4. WHO (2023). **Global Guidelines for Abnormal Uterine Bleeding**.
5. NCCN (2024). **Endometrial Cancer Early Detection Version 2.2024**.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายได้ที่ 
คลินิกผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช แผนกสุขภาพสตรี 
โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น
โทร. 043-042787
Line : @bangkokkhonkaen

นพ.สิทธิพงศ์ ถวิลการ
ชำนาญพิเศษ: สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology)
เฉพาะทาง: การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (Gynecologic Endoscopy)

 

Privacy Settings